ชื่อปริญญาและสาขา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ ปร.ด. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ปีที่ปรับปรุงหลักสูตร (Curriculum Updated) พ.ศ. 2564
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร (Program Description)
หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพมีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนการวิเคราะห์ ประดิษฐ์ คิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการบุคลากรที่ขาดแคลนของสังคม
วิธีการรับสมัคร (Application) การรับสมัคร : CLICK
ระยะเวลาเรียน (Duration) 3 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม (Total Credits)
แบบ 1.1 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
ค่าธรรมเนียมการศึกษา (Tuition Fees) 35,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา (Career Path)
- วิศวกรคอมพิวเตอร์
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นักพัฒนาโปรแกรม หรือผู้พัฒนาระบบอัตโนมัติ
- ผู้จัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์
- อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างหลักสูตร click
หลักสูตรแบบ 1.1
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา (Eligibility)
1. ให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทโดยมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.25 ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือเทียบเท่า และมีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำวิทยานิพนธ์ได้ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ
3. ในกรณีที่มีเกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 3.25 จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือมีผลงานวิจัยในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือเทียบเท่าที่ได้ผลดีเป็นพิเศษ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
5. คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จำนวนหน่วยกิตรวม (Total Credits) 48 หน่วยกิจ
ก. ปริญญานิพนธ์ (Thesis) 48 หน่วยกิต
261898 ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
ข. กิจกรรมทางวิชาการ (Academic Activities)
1. นักศึกษาจะต้องจัดสัมมนาและนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ในการสัมมนา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ภาคการศึกษาและนักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนาทุกครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา
2. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่ หรืออย่างน้อยต้องได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง โดย 1 เรื่อง ต้องอยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed หรือ Web of Science และมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
3. เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. นศ. ต้องรายงานผลการศึกษาแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม (Non-Credit Courses)
ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย : ภาษาต่างประเทศ
ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา : - ในกรณีที่อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นว่านักศึกษายังขาดพื้นฐานวิชาการบางด้านที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาผู้นั้นจะต้องเข้าเรียนในกระบวนวิชาที่เกี่ยวข้องนั้นตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยไม่นับหน่วยกิตสะสม
ง. การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถเพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน มีสิทธิสอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่ การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก
3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้
หลักสูตรแบบ 2.1
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา (Eligibility)
1. ให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทโดยมีผลการเรียนดี ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือเทียบเท่า โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
4. คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จำนวนหน่วยกิตรวม (Total Credits) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิจ
ก. กระบวนวิชาเรียน (Coursework) ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1. กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- กระบวนวิชาบังคับ -ไม่มี-
2. กระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง: กรณีที่นักศึกษาขาดความรู้พื้นฐานบางประการที่จำเป็นสำหรับการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ข. ปริญญานิพนธ์ (Thesis) 36 หน่วยกิต
261899 ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
ค. กิจกรรมทางวิชาการ
1. นักศึกษาจะต้องจัดสัมมนาและนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ในการสัมมนา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ภาคการศึกษา และต้องเข้าร่วมสัมมนาทุกครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา
2. ผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ได้รับการเผยแพร่หรืออย่างน้อยได้รับการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง ที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI, Scopus, IEEE, PubMed, Web of Science โดยมีชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก
3. เสนอผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานดุษฎีนิพนธ์ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา อย่างน้อย 1 เรื่อง
4. นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ และรวบรวมส่งบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาคการศึกษา
ง. การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถเพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน มีสิทธิสอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่ การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก
3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้
จ. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย : ภาษาต่างประเทศ
ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา : -ไม่มี -