MENU

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.2559

ชื่อย่อ : ปร.ด.(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

Doctor of Philosophy (Computer Engineering) Ph.D. (Computer Engineering)

 

STUDY PLAN CLICK


วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพมีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนการวิเคราะห์ ประดิษฐ์ คิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการบุคลากรที่ขาดแคลนของสังคม

 

การรับสมัคร วิธีการรับสมัคร สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ grad.cmu.ac.th

 

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตร 3 ปี มีการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรทั้งหมด 48 หน่วยกิต

 

ค่าเล่าเรียน เทอมละ 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

• วิศวกรคอมพิวเตอร์

• นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และนักวิจัยในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

• อาจารย์ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

• นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์

• นักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือผู้พัฒนาระบบอัตโนมัติ

• ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์

• หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์

• อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

หลักสูตร (Course Study)

 

แบบ 1.1 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนหน่วยกิตสะสมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

ก. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต 261898 วศ.คพ. 898 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

ข. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย

1. การจัดสัมมนาและการนำเสนอผลงานในการสัมมนา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ภาคการศึกษาและต้องเข้าร่วมสัมมนาทุกครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา

2. ผลงานส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก แบบ 1.1 ผลงานวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงาน ได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย หรือ ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (peer review) ก่อนการตีพิมพ์ อย่างน้อย 1 เรื่อง (ผลงานตีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์หรือได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการ) ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (peer review) ก่อนการตีพิมพ์ อย่างน้อย 1 เรื่อง (ผลงานตีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์หรือได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการ) และเสนอต่อที่ประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) โดยที่เป็นผลงานตีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ และผ่านการพิจารณาโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 เรื่อง 

3. นักศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาตามแบบรายงานผลของบัณฑิตวิทยาลัยทุกภาค    การศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของประธานกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ

ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม

1. ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ

2. ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา ในกรณีที่อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นว่านักศึกษายังขาดพื้นฐานวิชาการบางด้านที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาผู้นั้นจะต้องเข้าเรียนในกระบวนวิชาที่เกี่ยวข้องตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยไม่นับหน่วยกิตสะสม

ง. การสอบวัดคุณสมบัติ

1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถเพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์

2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน มีสิทธิสอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่ การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการสอบครั้งแรก

3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้

 

แบบ 2.1 สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนหน่วยกิตสะสมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต 

ก. กระบวนวิชาเรียน ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

1. กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

1.1 กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต 

1.1.1 กระบวนวิชาบังคับ ไม่มี

1.1.2 กระบวนวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

1.2 กระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะ ไม่มี 

1.2.1 กระบวนวิชาบังคับ ไม่มี 

1.2.2 กระบวนวิชาเลือก ไม่มี

2. กระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง ไม่มี

*** นักศึกษาสามารถเลือกเรียนกระบวนวิชาเลือกได้ดังต่อไปนี้​​​ ดูได้จาก Study plan

 

ข. วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต 261 899 วศ.คพ. 899 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต 

ค. กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม 

1. ตามเงื่อนไขของบัณฑิตวิทยาลัย    ภาษาต่างประเทศ

2. ตามเงื่อนไขของสาขาวิชา                  - ไม่มี - 

ง. การสอบวัดคุณสมบัติ 

1. นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถเพื่อมีสิทธิ์เสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ 

2. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน มีสิทธิสอบแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง โดยต้องยื่นคำร้องขอสอบใหม่ การสอบแก้ตัวต้องสอบให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ภาคการศึกษาถัดไปนับจากการ สอบครั้งแรก 

3. นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาอาจพิจารณาให้โอนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทได้ 

จ. กิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย

1. การจัดสัมมนาและการนำเสนอผลงานในการสัมมนา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ภาคการศึกษา และต้องเข้าร่วมสัมมนาทุกครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา 

2. ผลงานส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก แบบ 2.1 ผลงานวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงาน หรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ ที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (peer review) ก่อนการตีพิมพ์ อย่างน้อย 1 เรื่อง (ผลงานตีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์หรือได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการ) และเสนอต่อที่ประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) โดยที่เป็นผลงานตีพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ และผ่านการพิจารณาโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 1 เรื่อง